รังสีคอสมิก คือ อนุภาคพลังงานสูงหรือรังสีแกมมาจากนอกโลกที่ถูกเร่งให้มีความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสงพุ่งเข้าชนชั้นบรรยากาศของโลกในทุกทิศทุกทางและตลอดเวลา รังสีคอสมิกสามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ เป็นเพราะส่วนใหญ่ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และอิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุ อนุภาคเหล่านี้สามารถมีพลังงานสูงสุดได้ถึง 1020 อิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งสูงกว่าพลังงานของอนุภาคที่มีอยู่บนโลกประมาณหนึ่งล้านเท่า รังสีคอสมิกถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ (Victor Francis Hess) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน จากการส่งบอลลูนบรรทุกเครื่องอิเล็กโตรสโคป ขึ้นสู่ท้องฟ้าถึงระดับความสูงประมาณ 13 กิโลเมตร โดยที่วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ เป็นผู้ขึ้นไปกับบอลลูนเองหลายครั้ง วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ พบว่าที่ระดับความสูงยิ่งมากเครื่องอิเล็กโตรสโคปก็ยิ่งจับรังสีได้มาก ซึ่งตรงกันข้ามกับความคิดของเขาในตอนก่อนจะทดลองด้วยบอลลูน เขาเสนอว่ารังสีที่จับได้เป็นรังสีจากนอกโลก และ "โรเบิร์ต เอ. มิลลิแคน" (Robert A. Millikan) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้คำนวณหาขนาดของประจุอิเล็กตรอนได้สำเร็จ เป็นผู้ตั้งชื่อ เรียกรังสีจากนอกโลกว่า "รังสีคอสมิก" (Cosmic Ray) เมื่อปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) |
แหล่งกำเนิดของรังสีคอสมิก
โดยทั่วไปแล้วแหล่งกำเนิดของรังสีคอสมิกมีหลายแห่งเช่น หลุมดำ เศษเหลือจากซุปเปอร์โนวา เป็นต้น แต่พอแยกตามแหล่งหลักใหญ่ได้ดังนี้
|
เอกสารอ้างอิง- http://www.thaispaceweather.com/ |
จัดทำโดย : แผนกภูมิอากาศ กขอ.คปอ.