พายุสุริยะ
(solar storm)

      โดยปกติดวงอาทิตย์ปลดปล่อยกระแสอนุภาคความเร็วเหนือเสียง (supersonic particle) ออกมา ซึ่งเรียกว่า ลมสุริยะ (solar wind) และเนื่องจากภายชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ประกอบด้วยอนุภาคมีประจุพลังงานสูงที่อยู่ในสถานะที่สี่ของสสาร ที่ชื่อ พลาสมา (plasma) การเคลื่อนที่ของอนุภาคมีประจุภายในชั้นบรรยากาศของดาวอาทิตย์ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก (magnetic field) ทว่าความปั่นป่วนในการเคลื่อนที่อนุภาคมีประจุย่อมทำให้สนามแม่เหล็กปั่นป่วนด้วย ดังนั้นในบางครั้งบางคราว เส้นสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ (solar magnetic field line)จึงมีโอกาสที่จะปะทะสังสรรกัน จนเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวเนื่องจากสนามแม่เหล็ก เช่น การลุกจ้า (flare) การปลดปล่อยก้อนมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejections) เป็นต้น โดยปรากฎการณ์เหล่านั้นล้วนเป็นเหตุให้เกิดกระแสอนุภาคที่มีความเร็วสูงกว่าหรือ พลังงานมากกว่าลมสุริยะ

      เมื่อเทียบกับสภาพทางอุตุนิยมวิทยาบนโลก โดยทั่วไปเราคุ้นเคยกับลมอันเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณที่อากาศเย็นไปแทนที่บริเวณที่อากาศร้อนลอยขึ้นสูง ซึ่งมีความเร็วไม่สูงมากนั้น แต่หากเกิดเกิดกระแสลมความเร็วสูงผิดปกติจนอาจทำความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หรือมนุษย์ และนำมาซึ่งฝนตกฟ้าคะนอง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “พายุ” (storm) ในทำนองเดียวกัน เมื่อเกิดปรากฎการณ์บนดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดกระแสอนุภาคพลังงานสูงกว่าปกติ เป็นบางครั้งบางคราว เราจึงจัดปรากฏการณ์เหล่านั้นให้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “พายุสุริยะ” (solar storm)

เอกสารอ้างอิง

- http://www.thaispaceweather.com/

จัดทำโดย : แผนกภูมิอากาศ กขอ.คปอ.